-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันเสาร์ที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2556

พิธีสรงน้ำสรงพระศพสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ณ อำเภอขุขันธ์ 25 ตุลาคม 2556

            พิธีสรงน้ำสรงพระศพโดยกราบอุทิศถวายพระรูป สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โดยจัดพิธีที่วัดกลางอัมรินทราวาส  อำเภอขุขันธ์  จังหวัดศรีสะเกษ เมื่อวันที่ 25 ตุลาคม  2556 โดยมีพระเดชพระคุณพระรัตนากรวิสุทธิ์ รองเจ้าคณะจังหวัดศรีสะเกษ ประธานในพิธีฝ่ายสงฆ์  และนายอนุรัตน์ ลีธีระประเสริฐ นายอำเภอขุขันธ์ประธานในพิธีฝ่ายฆราวาส 


            ตามที่ได้มีประกาศสํานักนายกรัฐมนตรี เรื่อง สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน)สิ้นพระชนม์ ลงวันที่ 24 ตุลาคม 2556 ให้ข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ และรัฐวิสาหกิจ ไว้ทุกข์ มีกําหนด 15 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 8 พฤศจิกายน 2556 นั้น

            โดยที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (เจริญ สุวฑฺฒโน) ทรงเจริญด้วยพระคุณธรรมอันเปี่ยมล้น และได้ทรงบําเพ็ญสรรพกรณียกิจอันเป็นประโยชน์ยิ่งแก่พระบวรพุทธศาสนา และการปกครองคณะสงฆ์ในสังฆมณฑล ตลอดจนพุทธศาสนิกชนชาวไทยตลอดมา ประกอบกับประชาชนจํานวนมากต่างเศร้าโศกอาลัยในการสิ้นพระชนม์

            ดังนั้น เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัยรัฐบาลจึงเห็นสมควรประกาศให้ขยายเวลาการไว้ทุกข์ จากเดิม 15 วัน เป็น 30 วัน ตั้งแต่วันที่ 25 ตุลาคม 2556 ถึงวันที่ 23 พฤศจิกายน 2556  ทั้งนี้ ขอเชิญชวนองค์กรทุกภาคส่วน และประชาชนทุกหมู่เหล่าได้ร่วมกันไว้ทุกข์ตามห้วงระยะเวลาดังกล่าว เพื่อเป็นการถวายพระเกียรติยศและความอาลัย โดยพร้อมเพรียงกัน
 


            วรธรรมคติพร ของเจ้าพระคุณ ที่โดดเด่นเป็นที่จำได้ดีที่สุดคือ คิดดีทำดี พูดดี เป็นศรีเป็นพรสูงสุด ไม่มีพรเทพ พรมนุษย์ สูงสุดเท่าพรที่เราเฝ้าทำเอง กราบถวายอาลัยด้วยความเคารพอย่างสูงสุด 
 

วันอังคารที่ 22 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ผญาภาษิตอีสานโบราณกล่าวขานการทำบุญประจำเดือนสิบเอ็ด

เดือนสิบเอ็ดว่านั่นหัวลมอ่วยเชยหนาว
ช่วงผู้สาวผิวลายฝ่ายชายสิผิวเกลี้ยง
ได้ยินเสียงลมต้องกกสามฉาอยู่เวิ้นเหวิ่น
หมาจอกเอิ้นสั่งชู้กะปูหม้นแต่ฝั่งหนอง
นกแจนแวนออกฮ้องหาคู่ผสมพันธุ์
ควายบักเถิ๊กตกมันแหล่นซนแต่ตอพร้าว
ฝูงปลาขาวลงโฮมต้อนสาวนอนขี้คร้านตื่น 
ปลาดุกบืนข่อนสิแจ้งหันหน้าเข้าใส่หลุม
ได้ยินเสียงฟ้าฮ้องเอิ้นสั่งฤดูฝน 
ฝูงหมู่คนลงเลาะถ่งนาปลาบ้อน
เดิ๊กออนซอนจันทร์แจ้งทอแสงใสสง่า
ออกพรรษาห่อข้าวต้มลมล่อแต่หมู่ปลา
บัดนี่แหล๋ววัดสิเป็นกำพร้าบ่มีพระสิมานอน
มาออนซอนแต่ทายกไล่แต่งัวเข้ามาเลี้ยง
ได้ยินเสียงกลองโย้นวันเพ็ญสิบห้าค่ำ
พระสิลาแม่ออกค้ำไตรมาสสิสั่งลา  
เป็นผญาภาษิตอีสานโบราณ
กล่าวขานการทำบุญประจำเดือนสิบเอ็ด
เสร็จธุระพระพรรษาชาวพาราเซ็งแซ่แห่กฐิน 
จึงสังเกตเห็นธงสัตว์สี่ประเภทที่เตือนใจพระว่า
"อย่าเบื่อคำสอนสั่ง(ธงตะขาบ)   ยังเห็นแก่ปาก(ธงจรเข้)
มากด้วยกามคุณ(ธงเต่า)   และวุ่นรักผู้หญิง"(ธงมัจฉา)

 

ขออนุโมทนากับสาธุชนเจ้าภาพทุกท่านที่เห็นความสำคัญ
ของการทำบุญทอดกฐินแด่พระสงฆ์ทุกวัดที่มีพระสงฆ์๕รูปขึ้นไปซึ่งจำพรรษาถ้วนไตรมาสในอาวาสสามเดือน...สาธุ
ที่มา​ : กราบนมัสการขอบพระคุณพระคุณเจ้า จากเฟสบุค
Suriyon Noisangoun  https://www.facebook.com/suriyon.noisangoun ,22 ตุลาคม 2556.

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย