-->
ขุขันธ์ เมืองเก่า ชนทุกเผ่าสามัคคี บารมีพระแก้วเนรมิตวัดลำภูคู่หลวงพ่อโตวัดเขียน กระอูบ เกวียน ครุน้อย เครื่องจักสาน ปราสาทโบราณเป็นศรี ประเพณีแซนโฎนตา...ต้นไม้จะอยู่ได้ก็เพราะราก ชาติจะอยู่ได้ก็เพราะวัฒนธรรม การทำลายต้นไม้ ง่ายที่สุด คือทำลายที่ราก การทำลายชาติไม่ยาก ถ้าทำลายวัฒนธรรม...ไร้รากเหง้า วัฒนธรรม วิถีชีวิต และจิตวิญญาณ ไร้เรา...

วันพุธที่ 4 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2558

มิลินทปัญหา คลิกเดียวชมได้ทุกตอนจนจบ ตั้งแต่ตอนที่ ๑ - ๘

มิลินทปัญหา ตอนที่ ๑ - ๘

             แอนิเมชั่นนี้เคยถูกนำออกอากาศทางสถานีโทร­ทัศน์สีกองทัพบกช่อง 7 ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 18.00 น.ตอนละ 15 นาที โดยมีความร่วมมือกันระหว่าง คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร และ บริษัทธีร์ โฮลดิ้ง จำกัด ได้นำ " มิลินทปัญหา " มาสร้างเป็นการ์ตูนแอนิเมชั่น และถูกถ่ายทอดเป็นภาพถ่ายทอดเรื่องราว โดยบริษัท แอพริฌิเอท เอ็นเตอร์เทนเมนต์ จำกัด

             พระเจ้าเมนันเดอร์ที่ 1 (อังกฤษ: Menander I Soter) เป็นที่รู้จักกันในวรรณกรรมภาษาบาลีว่าพระเจ้ามิลินท์ เป็นพระมหากษัตริย์อินโด-กรีก (165[1]/155[1]-130 ปี ก่อน ค.ศ.) ผู้ก่อตั้งอาณาจักรขนาดใหญ่ในภูมิภาคเอเชียใต้และกลายเป็นผู้อุปถัมภ์ศาสนาพุทธ

             พระเจ้าเมนันเดอร์ทรงกำเนิดที่แถบคอเคซัส และทรงเป็นกษัตริย์พระองค์แรกของบักเตรีย ในที่สุดพระองค์ก็ก่อตั้งอาณาจักรในอนุทวีปอินเดีย ขยายออกจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำคาบูลทางทิศตะวันตกไปจรดแม่น้ำราวีทางทิศตะวันออก และจากที่ราบหุบเขาลุ่มแม่น้ำสวัตทางตอนเหนือไปสู่อะราโคเซีย (จังหวัดเฮลมันด์) เหล่านักบันทึกชาวอินเดียโบราณชี้ว่า พระองค์ได้ขยายอาณาจักรไปทางทิศใต้เข้ามาในรัฐราชสถานและขยายไปทางทิศตะวันออกถึงฝั่งล่างของแม่น้ำคงคาที่เมืองปาฏลีบุตร (ปัฏนา) และสตราโบนักภูมิศาสตร์กรีกเขียนไว้ว่า “(พระองค์พิชิตรัฐ (ในอินเดีย) ได้มากกว่าพระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช”
             ตัวเลขขนาดใหญ่ในเหรียญของพระองค์ที่ถูกค้นพบ ยืนยันถึงการค้าที่เจริญรุ่งเรืองและช่วงระยะเวลาของอาณาจักรพระองค์ พระเจ้าเมนันเดอร์ยังได้เป็นผู้อุปัฏภัมภ์พระพุทธศาสนา และบทสนทนาของพระองค์กับพระนาคเสน พระเถระนักปราชญ์ชาวพุทธ ก็ถูกบันทึกไว้เป็นผลงานสำคัญทางพระพุทธศาสนาชื่อ "มิลินทปัญหา" (ปัญหาของพระเจ้ามิลินท์) หลังจากที่พระองค์สวรรคตในปี 130 ก่อน ค.ศ. พระมเหสีของพระองค์พระนามว่า อะกาทอคลีอา (Agathokleia) ก็รับช่วงต่อโดยเป็นผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระโอรสของพระองค์พระนามว่า สตราโต ที่ 1 (Strato I ) การบันทึกของพระพุทธศาสนาบอกว่าพระองค์ส่งมอบอาณาจักรไปสู่พระโอรสและปลีกตัวเองจากโลก แต่พลูตราชบันทึกว่าพระองค์สวรรคตในค่ายในขณะที่มีการออกรบทางทหาร และยังบอกว่า พระอัฏฐิของพระองค์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเท่าๆกันเพื่อเมืองต่างๆเพื่อนำไปประดิษฐานในอนุสรณ์สถาน อาจจะเป็นสถูปทั่วทั้งอาณาจักรของพระองค์
             ดินแดนของพระองค์ครอบคลุมทางภาคตะวันออกของบัคเตรียเป็นจักรวรรดิกรีกที่แยกออกมา (ทุกวันนี้คือ จังหวัดบัคเตรียBactria Province) และขยายไปยังอินเดีย (ทุกวันนี้คือ ภูมิภาคของจังหวัด Khyber Pakhtunkhwa และ จังหวัด ปัญจาบ Punjab ของปากีสถาน ส่วนในอินเดียครอบคลุมรัฐ Haryana และส่วนพื้นที่ของ Himachal Pradesh และรัฐ Jammu ) เมืองหลวงคาดกันว่าเป็นเมืองสาคละ sagala เป็นเมืองที่เจริญรุ่งเรืองในภาคของรัฐปัญจาบ (เชื่อกันว่า ปัจจุบันคือเมือง Sialkot ในปากีสถาน)

เอกสารอ้างอิง : 
Bopearachchi (1998) and (1991), respectively. The first date is estimated by Osmund Bopearachchi and R. C. Senior, the other Boperachchi

ดร.วัชรินทร์ สอนพูด ประธานสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์
นายสุเพียร คำวงศ์ เลขานุการสภาวัฒนธรรมอำเภอขุขันธ์

สนับสนุนโดย